NEWS & EVENTS

August 17, 2016

7 วิธีลดพฤติกรรมการใช้เครื่องปั๊มลมไม่เหมาะสม

การลดพฤติกรรมการใช้เครื่องปั๊มลมที่ไม่เหมาะสม 7 ประการ

พฤติกรรมของพนักงานที่ใช่เครื่องปั๊มลมนั้นบางอย่างก็มีผลกระทบทำให้เครื่องปั๊มลมสิ้นเปลืองพลังงานโดยไม่จำเป็น แล้วพฤติกรรมแบบไหนกันละที่ทำให้ปั๊มลมสิ้นเปลืองพลังงาน เสียค่าไฟมากขึ้นโดยไม่จำเป็นละ บทความนี้จึงนำเสนอการลดพฤติกรรมใช้เครื่องปั๊มลมไม่เหมาะสม 7 ประการ

ประการที่ 1. การนำเอาอากาศอัดไปใช้ในการเป่าทำความสะอาดพื้น เราสามารถคำนวณหาความสูญเสียได้จากสมการการรั่วไหลทั่วไป เช่น จากรูปด้านล่างพนักงานนำอากาศอัดไปเป่าทำความสะอาดฝุ่น ก่อนส่งกะ และเป่าทำความสะอาดทั่วไป ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อที่ใช้เป่าประมาณ 12 มิลลิเมตร ที่แรงดัน 6 บาร์ เวลาที่เป่าต่อวัน 1.5 ชั่วโมง/วัน โรงงานทำงาน 300 วัน/ปี (กำลังการผลิตของเครื่องจักรเฉลี่ย 0.35 กิโลวัตต์/ลิตร/วินาที ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย 2.50 บาท/หน่วย

พนักงานนำอากาศอัดไปเป่าทำความสะอาดพื้นและเครื่องจักร

ประการที่ 2. การนำเอาอากาศอัดไปใช้เป่าระบายความร้อน เป่าฝุ่นตัวเอง ทางโรงงานควรขอความร่วมมือจากพนักงานให้งดการใช้โดยเด็ดขาด หากแรงดันตก อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อกระบวนการผลิตอย่างมหาศาล (การคำนวณผลประหยัดเช่นเดียวประการที่ 1)

พนักงานนำอากาศอัดไปเป่าทำความสะอาดและระบายความร้อนตนเอง

ประการที่ 3. การนำเอาอากาศอัดไปใช้เป่าระบายความร้อนเครื่องจักร ซึ่งก็เป็นวิธีที่ไม่เหมาะสมเช่นกัน ก่อนหน้านี้ใช้พัดลมโบเวอร์เป่า ภายหลังขยายพื้นที่ในการเป่าทำให้ลมไม่พอจึงดัดแปลงมาใช้อากาศอัดแทน หากเป็นเช่นนี้เพิ่มโบเวอร์จะดีกว่า (การคำนวณผลประหยัดเช่นเดียวประการที่ 1)

การนำเอาอากาศอัดไปเป่าระบายความร้อนเครื่องจักร

ประการที่ 4. การใช้ท่อยางเป่าโดยตรงโดยไม่ใช้ปืนลม การใช้อากาศอัดเป่าทำความสะอาดชิ้นงานในตำแหน่งที่ทำความสะอาดได้ยาก ควรจะพิจารณาในการใช้ปืนลมแทน โดยปกติการใช้อากาศอัดในการเป่าทำความสะอาดจะควบคุมความดันไม่เกิน 3 บาร์ ขนาดรูของปืนลม 2 mm (การคำนวณผลประหยัดเช่นเดียวประการที่ 1)

การใช้ท่อสายยางหรือท่อเหล็กเป่าโดยตรงโดยไม่ใช้ปืนลม

ประการที่ 5. การนำอากาศอัดไปเป่าชิ้นงาน ซึ่งดัดแปลงแทนการใช้กระเดื่องเขี่ย เป็นการดัดแปลงที่ไม่เหมาะสม หากเป็นระบบที่ติดกับเครื่องจักร จะมีชุดควบคุมเป็นแบบอัตโนมัติซึ่งมีการควบคุมที่ดี แต่ถ้าเป็นการดัดแปลงจากพนักงานดังรูป ชิ้นงานไม่มีก็เป่าอยู่ตลอดเวลา กิดการสูญเสียอย่างมาก (การคำนวนเช่นเดียวประการที่ 1)

การนำอากาศอัดไปเป่าชิ้นงานซึ่งดัดแปลงแทนใช้กระเดื่องเขี่ย

การลืมปิดวาล์ว หรือการขาดจิตสำนึกที่ดีในการใช้

ประการที่ 6. การลืมปิดวาล์วหรือปิดวาล์วไม่สนิทของพนักงาน (พนักงานหักท่อสายยางแทนการปิดวาล์ว)หัวหน้าจะต้องแนะนำหรือคอยย้ำเตือนพนักงานบ่อยๆ เพื่อให้เกิดจิตสำนึกที่ดีในการประหยัดพลังงาน
ประการที่ 7. ประการอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงแต่เป็นการสูญเสียอากาศอัดจากพฤติกรรมการใช้ที่ไม่เหมาะสม

  อ่านมาตราการและแนวทางการลดการใช้พลังงานของระบบอัดอากาศอื่น

รายการสินค้าที่เกี่ยวข้อง

Air Compressor , , ,