NEWS & EVENTS

August 8, 2016

การลดแรงดันการผลิตอากาศอัดของเครื่องปั๊มลม

แนวทางลดการสูญเสียเนื่องจากการผลิตและใช้อากาศอัดที่ความดันสูงเกินจำเป็น

โรงงานมักจะเข้าใจผิดว่า การผลิตแรงดันอากาศอัดที่ความดันสูงๆ แล้วให้เครื่องหยุดพักในลักษณะแบบไร้โหลด จะทำให้เครื่องได้หยุดพักและใช้พลังงานน้อยลง ซึ่งก็เป็นความจริง เครื่องอัดอากาศที่ทำงานในลักษณะไร้โหลดเป็นการที่มอเตอร์กินไฟแต่ไม่ได้จ่ายอากาศอัดออกมา อุปกรณ์ที่ใช้อากาศอัดทั่วๆ ไปมีความต้องการอากาศอัดที่แรงดัน 4-5 บาร์เท่านั้น หากอุปกรณ์ใดมีการใช้อากาศอัดที่ความดันสูงกว่านี้จะถูกจัดไว้เป็นอุปกรณ์พิเศษ ควรจะแยกระบบออกไป หรือใช้บู๊ตเตอร์เพรสเซอร์(Pressure Booter) เพื่อเพิ่มแรงดันอากาศอัดเฉพาะเป็นจุดๆ ไม่ควรผลิตอากาศอัดที่แรงดันสูง เพื่อรองรับอุปกรณ์ที่ใช้ความดันพิเศษเพียงบางจุด

ประโยชน์ของการลดแรงดัน
1. ช่วยลดการใช้พลังงาน โดยทั่วไปการลดแรงดันในการผลิตอากาศอัดลง 1 bar จะลดการใช้พลังงาน ได้ 7.25% หรือลดแรงดันลงทุกๆ 2 psi ประหยัดพลังงานได้ 1% สำหรับสำหรับเครื่องอัดอากาศทั่วไป
2. ช่วยลดการสูญเสียเนื่องจากการรั่วไหล เนื่องจากแรงดันอากาศอัดที่สูง ย่อมรั่วไหลในปริมาณที่สูง
3. ช่วยลดการใช้อุปกรณ์ปรับลดแรงดันก่อนการใช้งาน กรณีแรงดันสูงกว่าความต้องการ
4. เมื่อลดแรงดันในการผลิตลงส่งผลให้เครื่องอัดอากาศสามารถผลิตอากาศอัดได้มากขึ้น 

ขั้นตอนการลดแรงดันในการผลิต
1. สำรวจการใช้แรงดันอากาศอัดทุกๆ จุดที่มักเกิดปัญหาเมื่อแรงดันตก เพื่อทำการแก้ไข
2. สำรวจความต้องการแรงดันอากาศอัดของเครื่องจักร ว่าต้องการแรงดันสูงสุดเท่าไร ก่อนการปรับลดแรงดันเพื่อมิให้มีผลกระทบต่อการผลิต
3. สำรวจรอยรั่วไหลของอากาศอัด แล้วทำการซ่อมรอยรั่วเสีย เพื่อลดปัญหาแรงดันตก 104
4. การปรับลดแรงดันควรเป็นแบบลักษณะค่อยๆลด เช่น ลดจาก 7.5 บาร์ มาที่ 7 บาร์ โดยพยายามลดลงคราวละประมาณ 0.5 บาร์ หรือน้อยกว่านี้ถ้าเครื่องสามารถปรับได้

สมการ ผลประหยัดที่ได้จากการลดความดันในการผลิตอากาศอัด

อ่านมาตราการและแนวทางการลดการใช้พลังงานของระบบอัดอากาศอื่นๆ

รายการสินค้าที่เกี่ยวข้อง

Air Compressor , , , , , ,