NEWS & EVENTS

October 4, 2016

น้ำมันเครื่องต้องมีความเหนียว ยึดเกาะดี ซะล้าง และกระจายสิ่งสกปรก

น้ำมันเครื่องปั๊มลมจะต้องมีความเหนียว ยึดเกาะดี ซะล้าง และกระจายสิ่งสกปรก ความหนืดของน้ำมันเครื่องคืออะไร ความหนืดเป็นหลักสำคัญของน้ำมันหล่อลื่น โดยเป็นการวัดความข้นของของเหลวหรือแรงต้านต่อการไหลเท ตัวอย่างเช่น น้ำผึ้งข้นหนืดและน้ำเหลว ความหนืดของน้ำผึ้งจะสูงกว่าน้ำ ความหนืดของน้ำมันเครื่องต้องสอดคล้องกับอุณหภูมิแวดล้อมที่เหมาะสม หากข้นหนืดเกินไปขณะที่เครื่องยนต์เย็น น้ำมันเครื่องจะไม่สามารถไหลเวียนและจะทำให้การหล่อลื่นเครื่องยนต์เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

SHELL Lubricant
October 3, 2016

น้ำมันเครื่องต้องมีคุณสมบัติต้านการเกิดฟอง

น้ำมันเครื่องปั๊มลมต้องมีคุณสมบัติต้านการเกิดฟอง เราลองมาจินตนาการว่า ถ้าใช้ผงซักฟอกที่มีฟองมากๆกับเครื่องซักผ้า เวลาเครื่องปั่นผ้าจะมีฟองฟูล้นออกจากเครื่อง ไม่เพียงเลอะเทอะเท่านั้น แต่มันคือการสูญเสียสารซักล้างไปด้วย ทำให้เราซักผ้าได้ไม่สะอาดอย่างเต็มประสิทธิภาพ ในปั๊มลมก็เหมือนกัน น้ำมันจะถูกปั่นเวียนเข้า-ออกถังพักตลอดเวลา หากน้ำมันเกิดฟองมาก ปริมาณน้ำมันก็จะหายไปจากระบบ น้ำมันอาจไม่เพียงพอสำหรับหล่อเลี้ยงระบบ

Air Compressor
October 1, 2016

น้ำมันเครื่องต้องไม่ทำลาย ยาง ทองแดง ทองเหลือง

น้ำมันเครื่องในเครื่องปั๊มลมต้องไม่ทำลาย ยาง ทองแดง ทองเหลือง   ภายในหัวสกรูต้องมีซีลยางหรือโอริงยาง กันน้ำมันรั่วออกที่เพลาขับ มีท่อยางเป็นท่อลม ท่อน้ำมัน ฯลฯ น้ำมันเครื่องต้องไม่มีสารหรือส่วนผสมที่มีปฏิกริยาใดๆกับยาง ไม่ทำให้ยางเปื่อย ยางบวม หรือทำให้ยางแข็ง ถ้าหากทำให้ยางเปื่อยบวม น้ำมันจะรั่วซึม หากทำให้ยางแข็ง จะทำให้ท่อยางเปาะแตกง่าย หรือหากซีลยางแข็งจะกัดกร่อนเพลาขับ ฯลฯ

Air Compressor
September 30, 2016

น้ำมันเครื่องต้องมีจุดวาบไฟสูง และ ดัชนีความข้นใสสูง

น้ำมันเครื่องของปั๊มลมต้องมีจุดวาบไฟสูง และ ดัชนีความข้นใสสูง น้ำมันเครื่องต้องมีจุดวาบไฟสูง  จุดวาบไฟ คือ อุณหภูมิที่ทำให้น้ำมันเปลี่ยนเป็นไอ พร้อมที่จะลุกวาบเมื่อมีประกายไฟ ข้อนี้จึงเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยโดยตรง  การพร่องของน้ำมันเครื่อง หรือหมดเร็วไปด้วย เกิดจาก การระเหยของน้ำมันเครื่อง น้ำมันที่ดีต้องมีจุดวาบไฟสูง ยิ่งสูงยิ่งดีครับ ปกติจุดวาบไฟจะอยู่ประมาญ 160-320 องศาเซลเซียส

Air Compressor
September 29, 2016

น้ำมันต้องรวมตัวกับอ็อกซิเจนในปั๊มลม

น้ำมันเครื่องต้องมีคุณสมบัติต้านการรวมตัวกับอ็อกซิเจน การที่น้ำมันต้องหล่อเลี้ยงในห้องอัดลมตลอดเวลา หมายถึงน้ำมันต้องถูกบีบอัดผสมกับอ็อกซิเจนตลอดเวลา สารประกอบบางอย่าง เช่น ไฮโดรคาร์บอน อาจทำปฏิกริยากับอ็อกซิเจน (oxidation) แล้วเกิดสิ่งไม่พึงประสงค์ เช่น กลายเป็นกรดกัดกร่อน กลายเป็นยางเหนียว ซึ่งจะอุดตันทางเดินน้ำมัน อุดตันกรองน้ำมัน ทำให้การไหลเวียนไม่ดี การระบายความร้อนไม่ดี ยิ่งภายใต้อุณหภูมิที่สูง การเกิดปฏิกริยายิ่งเกิดเร็วขึ้นอีก

Air Compressor
September 28, 2016

น้ำมันเครื่องเป็นตัวหล่อเย็นให้ปั๊มลม (coolant)

น้ำมันเครื่องเป็นตัวหล่อเย็นให้ (coolant) ปั๊มลม ในกระบวนการอัดอากาศ ในกระบวนการอัดอากาศนั้น จะเกิดความร้อนขึ้นโดยธรรมชาติ ยิ่งอัดมากยิ่งร้อนมาก ไม่เกี่ยวกับการเสียดสีใดๆ ความร้อนที่เกิดขึ้นอาจสูงถึง 200 องศาเซลเซียส น้ำมันที่เป็นตัวหล่อเลี้ยงภายในหัวสกรู จะเป็นตัวนำความร้อนนั้นไประบายทิ้ง เหมือนน้ำระบายความร้อนของรถยนต์ โดยน้ำมันจะถูกดูดหมุนเวียนเอาความร้อนออกมา ระบายทิ้งลงที่แผงคูลเลอร์ (เหมือนหม้อน้ำรถยนต์) น้ำมันที่ดีต้องมีคุณสมบัดซึมซับความร้อนได้เร็ว

Air Compressor
September 27, 2016

น้ำมันเครื่องเป็นตัวหล่อลื่นปั๊มลม (lubricate)

น้ำมันเครื่องทำหน้าที่เป็นตัวหล่อลื่น (lubricate) เครื่องจักรกลต่างๆในปั๊มลม เครื่องจักรกลต่างๆที่ต้องการการหล่อลื่น น้ำมันจะทำตัวเป็นฟิล์มบางๆเคลือบไปที่ผิวสกรู ผิวเสื้อสกรู เม็ดลูกปืน ตลับลูกปืนต่างๆ ตัวฟิล์มจะป้องกันไม่ให้โลหะกับโลหะเสียดสีกันโดยตรง ตัวฟิล์มนี้ละที่สำคัญที่สุด หากฟิล์มบางลง หรือเสื่อมสภาพตามอายุน้ำมันเอง จะทำให้โลหะกับโลหะเสียดสีกันได้ จะทำให้เกิดผลตามมามากมาย เช่น มีความร้อนสูงขึ้น สั่นสะเทือนมากขึ้น เสียงดังมากขึ้น สึกหรออย่างรวดเร็ว

Air Compressor
September 27, 2016

น้ำมันเครื่องทำหน้าที่เป็นตัวซีลปั๊มลม (sealant)

น้ำมันเครื่องทำหน้าที่เป็นตัวซีล (sealant) ให้กับเครื่องปั๊มลมต่างๆ เครื่องปั๊มลมระบบโรตารี่ออยฟลัด ได้แก่ เครื่องปั๊มลมสกรูคู่ เครื่องปั๊มลมสกรูเดี่ยว เครื่องปั๊มลมโรตารี่เวน และเครื่องปั๊มลมสโครล เครื่องปั๊มลมเหล่านี้ จำเป็นต้องมีน้ำมันหล่อเลี้ยงในห้องอัดอากาศ โดยใช้น้ำมันเป็นตัวซีลระหว่างโลหะกับโลหะ คือ ระหว่างสกรูตัวผู้กับตัวเมีย ระหว่างตัวสกรูกับเสื้อสกรู ฯลฯ การซีลคือการอุดรอยต่อที่อยู่ระหว่างโลหะกับโลหะ

Air Compressor
September 27, 2016

น้ำมันเครื่องกลายเป็นวานิช

หัวฉีดน้ำมันเครื่องปั๊มลมมียางเหนียวเหมือนน้ำมันวานิช อุณหภูมิน้ำมัน ที่เครื่องวัดหน้าเครื่องอาจจะอ่านได้ 85 องศาเซลเชียส แต่อุณหภูมิในหัวสกรูอาจสูงกว่านั้นมาก โครงสร้างโมเลกุลที่ซับซ้อนของส่วนผสมในน้ำมันเครื่อง เมื่อรวมเข้ากับสารปนเปลื้อนที่มากับลม อาจทำให้ถึงจุดพังทลายของน้ำมันเครื่อง ผลคือ อาจเกิดสิ่งตกค้าง (residue) ไปติดขัดในเคลียแรนซ์สกรู หรือหัวฉีดน้ำมัน เป็นยางเหนียวเหมือนน้ำมันวานิช ซึ่งเกิดได้กับเครื่องปั๊มลมทุกยี่ห้อ

Air Compressor
September 26, 2016

แรงดันลมยิ่งสูงยิ่งดี จริงหรออ ?????

แรงดันลมยิ่งมีแรงดันมาก ยิ่งแรงดันสูงจะยิ่งดี มันจริงหรือป่าว ??? ไม่เลย… แรงดันลมในระบบ ยิ่งมีแรงดันสูงยิ่งเปลือง ยิ่งสูงยิ่งมีปัญหา ต่างหากละ แรงดันที่สูงเกินไป จะทำให้เกิดปัญหาการรั่วซึมในระบบมากขึ้น ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ แรงดันยิ่งสูง ความหนาของท่อ ของถังพัก จุดเชื่อมต่อต่างๆ ก็ต้องแข็งแรงยิ่งขึ้น การลงทุนวางระบบก็ต้องสูงขึ้นเช่นกัน วัสดุอุปกรณ์ เช่น สายลม หัวต่อลม วาล์ว ฯลฯ ต้องมีคุณภาพพอที่จะรองรับแรงดันนั้นได้ด้วย มิฉะนั้น อาจก่อให้เกิดการรั่วซึม แตกร้าว ทำให้ต้องซ่อมบำรุงบ่อยๆ

Air Compressor