NEWS & EVENTS

August 8, 2016

วิธีลดอุณหภูมิอากาศให้เครื่องปั๊มลม

การลดอุณหภูมิของอากาศก่อนเข้าเครื่องอัดอากาศ

อุณหภูมิของอากาศที่ต่ำย่อมมีความหนาแน่นของอากาศมากกว่าอากาศที่มีอุณหภูมิสูง และเมื่ออัดเข้าไปแล้วย่อมได้เนื้ออากาศอัดที่มากกว่าเช่นกัน ปกติโรงงานจะติดตั้งเครื่องอัดอากาศเป็นศูนย์รวมหลายๆ ชุด หากมีการต่อท่อดักซ์ระบายความร้อนทิ้งออกนอกอาคารไม่เหมะสมจะการระบายความร้อนของระบบอัดอากาศไม่ดีพอทางโรงงานควรพิจารณาในการปรับปรุงระบบระบายความร้อนเพื่อนำความร้อนออกนอกห้องเครื่องอัดอากาศประโยชน์ของการลดอุณหภูมิของอากาศก่อนเข้าเครื่องอัดอากาศ

1. การลดอุณหภูมิอากาศทุกๆ 3°C จะสามารถลดการใช้พลังงานลงได้ 1% ของกำลังการผลิตสมการ ผลประหยัดพลังงานที่ได้จากการลดอุณหภูมิของอากาศขาเข้า

 

 

 

 

 

 

 

 

สภาวะการทำงานแบ่งเป็น 3 กรณีดังนี้

1. กรณีการทำงานของเครื่องอัดอากาศเป็นแบบ Load + Unload
2. และกรณีการทำงานของเครื่องอัดอากาศเป็นแบบ On + Off โหลด (เพื่อเพิ่มความ แม่นยำ ควรจะหาคาบการทำงานมากกว่า 5 ครั้ง แล้วนำมาเฉลี่ย)

3. กรณีการทำงานของเครื่องอัดอากาศแบบ Modulating (กลุ่ม Rotary Vane, Screw, Turbo) ที่ใช้หลักการหรี่วาล์วนั้น การหาค่าเปอร์เซ็นต์โหลดทำได้ค่อนข้างยาก ทางโรงงานจึงต้องกำหนดเองสำหรับเครื่องอัดอากาศที่มีลักษณะการทำงานแบบ Modulating ที่ใช้หลักการหรี่วาล์วนั้น การหาค่าเปอร์เซ็นต์โหลดทำได้ค่อนข้างยากลำบาก ถ้ามีการติดตั้ง Air Flow Meter ก็สามารถหาเปอร์เซ็นต์โหลด ถ้าโรงงานมีการติดตั้งเครื่องอัดอากาศแบบสกรูหรือลูกสูบที่ทำงานแบบ Load+Unload และแบบ On-Off Load ร่วมอยู่ในระบบด้วยก็จะง่ายขึ้น คือกำหนดให้เครื่องอัดอากาศที่ทำงานแบบ Modulating ทำงานที่ 100% แล้วให้แบบระบบอื่นเป็นตัวเสริมโหลด สามารถคำนวณผลประหยัดไดเช่นกัน

ดูตัวอย่างเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
โรงงาน D ติดตั้งเครื่องอัดอากาศ 75 กิโลวัตต์ แบบสกรูทำงานแบบ Load+Unload ผลิตอากาศอัด 216.67 ลิตร/วินาที จากการตรวจวัดพบว่าทางโรงงานใช้แรงดันในการผลิตอากาศอัดอยู่ที่ 7.5 บาร์ ต่อโหลดที่ 6.5 บาร์และเครื่องอัดอากาศจะทำงานช่วงโหลด 100 วินาที ช่วงไร้โหลด 20 วินาที ทำงาน 12 ชั่วโมง/วัน 300 วัน/ปี การลดอุณหภูมิอากาศก่อนเข้าเครื่องอัดอากาศจากเดิม 40๐C เมื่อปรับปรุงลดอุณหภูมิในห้องลงเหลือ 35๐C จะทำให้ลดพลังงานลงได้ Model/Type Air Compressor Screw Type 75 kW FAD = 216.67 at 7.5 บาร์ ทำงานเป็นแบบ Load +Unload (LDU = (100/(100+20)) x 100 = 83.33%) การคำนวณหาผลประหยัดที่ได้

ตาราง การประมาณการผลประหยัดที่ได้จากการลดอุณหภูมิอากาศขาเข้าแบบง่ายๆ กรณีรู้ภาระเฉลี่ย (LDU) และอุณหภูมิที่จะลดลงก็สามารถที่จะประมาณผลประหยัดได้ แล้วนำไปวิเคราะห์การลงทุน (การคำนวณใช้ 3,600 ชั่วโมงทำงานต่อปี แรงดัน 7 บาร์ ค่ากระแสไฟฟ้า 2.50 บาทต่อยูนิต)

  อ่านมาตราการและแนวทางการลดการใช้พลังงานของระบบอัดอากาศอื่น

รายการสินค้าที่เกี่ยวข้อง

Air Compressor , , , , , , , , ,